วันพฤหัสบดีที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2555


ตุ่น มีลักษณะคล้ายหนูตะเภาตัวอ้วน ๆ ซึ่งเป็นสัตว์ในอันดับสัตว์ฟันแทะ (Rodentia) แต่ทว่าตุ่นมีอันดับแยกออกมาเองต่างหาก ซึ่งใกล้เคียงกับหนูผี (Soricidae) มากกว่า มีขนอ่อนนุ่ม สีคล้ำอย่างสีเทาหรือสีดำ ตลอดทั้งลำตัว ซึ่งขนนี้มีคุณลักษณะพิเศษที่สามารถบิดไปในทิศทางใดก็ได้ แตกต่างจากสัตว์ประเภทอื่น ๆ ส่วนหางสั้น
ตุ่นอาศัยในโพรงใต้ดินตลอดเวลา จะไม่ขึ้นมาบนพื้นดิน หากไม่จำเป็น ดังนั้นจึงมีหูและตาเล็กมาก เพราะแทบไม่ได้ใช้ประโยชน์ และถูกเก็บซ่อนอยู่ใต้ขน เพื่อป้องกันมิให้ดินเข้าเวลาขุดดิน ในบางชนิดจะมีหนังพิเศษปิดเหนือตาด้วย ขาคู่หน้าของตุ่นซ่อนอยู่ใต้ขน ซึ่งจะยื่นออกมาแต่ส่วนปลายเป็นข้อมือที่มีเล็บที่แข็งแรง 5 เล็บ ซึ่งใช้ในการขุดโพรงดิน แต่จะใช้เดินบนพื้นดินไม่ได้เลย หากตุ่นขึ้นมาบนดินจะทำได้เพียงแค่คืบคลาน
ในโพรงใต้ดินของตุ่น มีทางยาวมาก โดยมักจะขุดให้ลึกไปจากผิวดินราว 3 นิ้วครึ่งถึงครึ่งฟุต เป็นทางยาวขนานไปกับผิวดิน และลึกจากหน้าดินราวหนึ่งฟุตก็มีอีกโพรงหนึ่งเป็นคู่ขนานด้วยเช่นกัน ซึ่งทั้งสองสายนี้เชื่อมไว้ด้วยทางเชื่อมเล็ก ๆ ในแนวตามจุดต่าง ๆ เป็นระยะ ๆ แต่ในบางจุดอาจมีแนวดิ่งลึกลงไปถึง 4 ฟุต ผนังโพรงราบเรียบสม่ำเสมอกัน ที่ปลายสุดของโพรงจะใช้เป็นที่กลับตัว ซึ่งมีความกว้างเพียงขนาดเท่าตัวของตุ่น ดินที่ขุดขึ้นทำโพรงนั้นจะถูกอัดไปตามผนังโพรงเพื่อให้แน่นและแข็งแรง แต่บางส่วนก็จะถูกดันขึ้นไปเหนือพื้นดิน เห็นเป็นเนิน ๆ ซึ่งเรียกในภาษาไทยว่า "โขย"
ตุ่น กินอาหารหลัก คือ ไส้เดือนดิน และก็สามารถกินอาหารอื่นได้ เช่น หนอนหอยทาก และพืชประเภทหัว เช่น มัน หรือ แห้ว หลายชนิด ในวันหนึ่ง ๆ ตุ่นสามารถที่จะกินอาหารได้เท่ากับน้ำหนักตัว จึงเป็นสัตว์ที่ไม่อาจอดอาหารได้นาน ในฤดูแล้งที่อาหารขาดแคลน ตุ่นสามารถจะสะสมอาหารเป็นเสบียงได้ ในโพรงดินส่วนที่เป็นห้องเก็บอาหาร โดยมีรายงานว่า ตุ่นบางตัวเก็บหนอนไว้ในห้องเก็บอาหารนับร้อยตัว โดยที่หัวของหนอนเหล่านี้ถูกกัดจนหัวขาดแล้ว แต่ยังไม่ตาย ไม่อาจจะหนีไปไหนได้
ตามปกติ ตุ่นเป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ลำพัง นอกจากในฤดูผสมพันธุ์ ซึ่งในฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้ต้องต่อสู้แย่งชิงตัวเมียเสียก่อน ตัวเมียจะเป็นฝ่ายสร้างรั งขนาดลูกรักบี้ที่บุด้วยใบไม้และฟางหรือกิ่งไม้เล็ก ๆ โดยจะอยู่ลึกจากหน้าดินประมาณ 2 ฟุต หรือตื้นกว่านั้น มีทางแยกออกจากรังหลายทาง เพื่อที่จะเข้าออกได้หลายทาง เพื่อความสะดวกและปลอดภัย ซึ่งรังของตุ่นจะสะอาดสะอ้านอยู่เสมอ


วันเสาร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กิ้งก่าแผงคอ (อังกฤษ: Frill-necked Lizard, Frilled Lizard, Frilled Dragon) สัตว์เลื้อยคลานประเภทกิ้งก่าชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Chlamydosaurus kingii เป็นกิ้งก่าเพียงชนิดเดียวในสกุล Chlamydosaurus [1]
มีรูปร่างเหมือนกิ้งก่าทั่วไป สีลำตัวเป็นสีน้ำตาลเขียว มีจุดเด่นก็คือ มีแผงคอที่สามารถแผ่ออกได้กว้างครอบหัวเวลาตกใจหรือขู่ศัตรู อีกทั้งยังสามารถวิ่งได้ด้วยขาหลังเพียง 2 ขาด้วยความเร็ว เมื่อหนีศัตรู มีนิ้วทั้งหมด 5 นิ้ว มีเล็บแหลมคม หางเรียวยาว โดยปกติจะอาศัยและหากินอยู่ตามต้นไม้
มีความยาวประมาณ 25 เซนติเมตร โตเต็มที่ในธรรมชาติ 35 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์อยู่ในทะเลทรายทางตอนเหนือของประเทศออสเตรเลีย, ปาปัวนิวกินี กินแมลงและสัตว์ขนาดเล็กต่าง ๆ เป็นอาหาร

วันพฤหัสบดีที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เต่าเป็นสัตว์ที่มีชื่อเสียงมาตั้งแต่ครั้งโบราณ มีหลายความเชื่อในโลกนี้ที่มีตำนานว่า เต่ากำเนิดขึ้นมานับแต่สร้างโลก มีเรื่องเล่าของชาวอินเดียโบราณว่า โลกบูดๆเบี้ยวๆที่เราอาศัยอยู่นี้ ที่แท้แล้วตั้งอยู่บนหลังเต่ายักษ์ตัวมหึมา เต่าจึงเป็นสัตว์ที่รับภาระหนัก เพราะต้องแบกโลกเอาไว้ทั้งใบ (มนุษย์เดินดินคนไหนที่เจอปัญหาหนักอก แล้วคิดว่าเรานี่หนอ ทุกข์หนักเหมือนแบกโลกไว้ทั้งโลก จนแทบจะทนอยู่ไม่ไหว ก็คงจะต้องอายเต่า เพราะแบกโลกมานานตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ แต่ไม่เคยบ่นเลยสักคำ)

วันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ปลา ปักเปา คือสัตว์มีพิษ ที่มีคนนิยมบริโภคมาก โดยเฉพาะในแถบประเทศญี่ปุ่น (ปลาปักเปาภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า ฟูกุ) และเกาหลี (ในส่วนของภาษาเกาหลีจะเรียกว่า บ๊อค ฮัง) โดนเนื้อปลาปักเป้านั้น จริงๆแล้ว ไม่ได้มีพิษ แต่ส่วนที่มีพิษก็คือพวก ผิวหนังและเครื่องในของปลาปักเป้านั่นเอา แต่พิษเหล่านี้มักจะซึมเข้าไปในเนื้อตอนแล่ พ่อครัวที่จะแล่ปลาปักเป้า ต้องมีใบอนุญาติกันเลย ถ้าหากกินพิษของปลาปักเป้าไป อาจจะทำให้เสียชีวิตได้ในทันที